Print this page

สภาพทั่วไป

      องค์การบริหารส่วนตำบลนาคาย ตั้งอยู่ในเขตปกครองอำเภอตาลสุม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ตั้งอำเภอ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร มีระยะทางห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 45 กิโลเมตร มีเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับ ตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับ ตำบลหนองกุง และตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับ แม่น้ำเซบก ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

เขตการปกครอง

      หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคาย เต็มทั้ง 13 หมู่ หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านนาคาย จำนวนประชากร 709 คน
  • หมู่ที่ 2 บ้านโนนจิก จำนวนประชากร 640 คน
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองเป็ด จำนวนประชากร 603 คน
  • หมู่ที่ 4 บ้านโนนยาง จำนวนประชากร 357 คน
  • หมู่ที่ 5 บ้านดอนขวาง จำนวนประชากร 353 คน
  • หมู่ที่ 6 บ้านดอนหวาย จำนวนประชากร 323 คน
  • หมู่ที่ 7 บ้านโคกคล้าย จำนวนประชากร 323 คน
  • หมู่ที่ 8 บ้านคำหนามแท่ง จำนวนประชากร 1,177 คน
  • หมู่ที่ 9 บ้านคำผักหนอก จำนวนประชากร 478 คน
  • หมู่ที่ 10 บ้านคำฮี จำนวนประชากร 256 คน
  • หมู่ที่ 11 บ้านห่องแดง จำนวนประชากร 223 คน
  • หมู่ที่ 12 บ้านโนนสำราญ จำนวนประชากร 193 คน
  • หมู่ที่ 13 โนนเจริญ จำนวนประชากร 709 คน

รวมจำนวนประชากร 6,371 คน แยกเป็นชาย 3,262 คน หญิง 3,109 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ประมาณ 71 ต่อตารางกิโลเมตร

เนื้อที่

      องค์การบริหารส่วนตำบลนาคาย มีเนื้อที่ประมาณ 85 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 53,125 ไร่

ลักษณะภูมิเทศ

      พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและลาดชันปานกลาง ไม่มีภูเขาสูง มีแม่น้ำเซบกไหลผ่านเขตติดต่อด้านทิศตะวันตก มีที่ราบลุ่มบางส่วนบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของตำบล ทิศเหนือเป็นที่ราบสูงเหมาะต่อการเลี้ยสัตว์ เป็นป่าละเมาะมีพื้นที่ทำนาประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ มีแม่น้ำห้วยนาคายไหลผ่านด้านทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเซบก

สภาพทางเศรษฐกิจ

      ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ประมาณ 93% อาชีพรองลงมาได้แก่ อาชีพค้าขาย รับราชการ รับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ และประกอบกิจการพาณิชย์ขนาดเล็ก

      หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ มีโรงสีข้าวขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมจำนวน 25 แห่ง มีสวนจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 1 แห่ง ไม่มีธนาคาร โรงแรม ปั๊มน้ำมันและก๊าซ

สถานศึกษา

  • โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาส) ม.ต้น จำนวน 4 แห่ง
  • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 แห่ง

สาธารณสุข

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน จำนวน 2 แห่ง
  • อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100%

การคมนาคม

  • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน จำนวน 12 สาย ในพื้นที่ หมู่ที่ 1-9 และ หมู่ที่ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 5.5 กิโลเมตร
  • ถนนลาดยาง ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,8,12 และ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 16 กิโลเมตร
  • ถนนลูกรัง จำนวน 11 สาย ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12 และ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 67.3 กิโลเมตร

การโทรคมนาคม

  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (อนุญาตเอกชน) จำนวน 1 แห่ง
  • มีตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์ จำนวน 8 ตู้

การไฟฟ้า

  • มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน รวมมีประชากรที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 5,873 คน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  • ลำน้ำ, ลำห้วย จำนวน 7 สาย
  • บึง, หนองและอื่นๆ จำนวน 8 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  • ฝายชะลอน้ำ จำนวน 9 แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น (ใช้การได้) จำนวน 111 แห่ง
  • บ่อบาดาล (ใช้การได้) จำนวน 34 แห่ง
  • สระน้ำ (ใช้การได้) จำนวน 191 แห่ง
  • ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง

  • ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน จำนวน 2 รุ่น 360 คน
  • ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 1 รุ่น 90 คน
  • สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านหนองเป็ด จำนวน 1 รุ่น 200 คน
  • อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจำนวน 1 รุ่น 120 คน

 

Media